- ชื่อผลงาน
: การพัฒนาระบบป้องกันและดูแลมารดาตกเลือดหลังคลอด
- ชื่อหน่วยงาน :
งานห้องคลอด
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
- คำสำคัญ :
มารดาตกเลือดหลังคลอด
- ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ภาวะตกเลือดหลังคลอด
เป็นปัญหาที่สำคัญของงานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พบเป็นภาวะแทรกซ้อนอันดับหนึ่งของมารดาหลังคลอดและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติการณ์มารดาเสียชีวิตได้
ผลการดำเนินงานปี 2560 - 2563 พบร้อยละมารดาตกเลือดหลังคลอด
เท่ากับร้อยละ 4.02, 3.59,
1.61, 1.73 และ 1.56 ตามลำดับ เกิดภาวะ shock
ร้อยละ 5.56, 17.65, 33.33 และ 20 ตามลำดับ ปี
2561 พบความเสี่ยงระดับ I (มารดาเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอด)
จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตรา 211.42 หน่วยงานมีการทบทวนวิเคราะห์หาสาเหตุโดยรวมได้ดังนี้
1) มดลูกหดรัดตัวไม่ดีร้อยละ 51.85 2) จากรกค้างร้อยละ
24.08 3) เกิด
Hematoma จากแผลฝีเย็บร้อยละ 11.11 4) ปากมดลูกฉีกขาดจากทารกตัวโต
จากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด ร้อยละ 9.26 และ 5) พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอด
(Tear lower uterine segment) ร้อยละ 3.70 จากการทบทวนปัญหาที่พบมีประเด็นสำคัญคือ สมรรถนะของพยาบาลในห้องคลอดแตกต่างกัน
เช่น การประเมินภาวะเสี่ยง Uterine atony ในแต่ละระยะของการคลอด, การตัดสินใจเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในการออกเหตุรับมารดาคลอดนอกโรงพยาบาล,
เทคนิคการทำคลอดรก และการเย็บซ่อมแซมแผลที่ลึก นอกจากนี้ยังพบว่าการคัดกรองและแก้ไขภาวะเสี่ยงได้ตั้งแต่ฝากครรภ์ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้มาก
และจากการทบทวนยังพบว่าแนวทางการให้ยาเพื่อให้มดลูกหดรัดตัวดีตาม
CPG ทำได้ล่าช้า ไม่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล ทำให้การรักษาภาวะ
Uterine atony ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการตกเลือดในมารดาหลังคลอด
ทำได้ล่าช้าตามมา