• 0nogift67.png
  • 1.1nogift67.png
  • 1.2nogift67.png
  • 1.3nogift67.png
  • 1.44093n.jpg
  • 2nogift67.png
  • 3.1nogift67.png
  • 3.2nogift67.png
  • 3nogift67.png
  • 4nogift67.jpg

มูลนิธิ รพร.สาขานครไทย



ผู้อำนวยการโรงพยาบาล


แพทย์หญิงสุภาพร  ปรางค์เจริญ

นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง
ผอ. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

ตุลาคม 2565 - ปัจจุบัน


Knowledge Management board :KM

ระบบรายงานคุณภาพโรงพยาบาล


เข้าระบบสมาชิก

ส่งบทความ

งานรับส่งหนังสือ สารบรรณกลาง

เบอร์โทร : 055-389060 ต่อ 153
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ :
saraban-nktcph@nktcph.go.th



Home ผลงานกิจกรรมโรงพยาบาล กิจกรรมพัฒนาบุคลากร

กิจกรรมพัฒนาบุคลากร

1.      ชื่อผลงาน :  ส่ง Chart ทันเวลาทันเคลม

2.      ชื่อและที่อยู่ : งานผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

3.      คำสำคัญ   เวชระเบียนสูญหาย

4.      สรุปผลงานโดยย่อ

สาเหตุของการส่งเวชระเบียนเกิดความล่าช้า เนื่องจากหัวหน้าหอผู้ป่วยตรวจสอบเวชระเบียนล่าช้าเนื่องจากติดประชุม/ราชการ  พนักงานธุรการหอผู้ป่วยลงหัตถการภายหลังผู้ป่วยจำหน่าย แพทย์สรุปเวชระเบียนล่าช้า บางครั้งเวชระเบียนเกิดการสูญหาย จึงต้องมีการพัฒนาระบบการส่งเวชระเบียนให้ห้องเวชระเบียนทันตามที่กำหนด เพื่อส่ง เคลมได้ทันเวลา


1.      ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบบริการตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

2.      คำสำคัญ   ตรวจสุขภาพประจำปี

3.      สรุปผลงานโดยย่อ :  การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งจำเป็นในการคัดกรองโรคที่พบบ่อย เพื่อตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยมีสภาวะสุขภาพที่ดียาวนานขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือการเข้าถึงระบบการตรวจสุขภาพที่มีขั้นตอนมากมาย ใช้เวลารอคอยนาน ผู้รับบริการจึงไปรับบริการตรวจสุขภาพ รพ.เอกชนแทน ส่งผลให้จำนวนผู้รับบริการและรายได้จากการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทยลดลง ดังนั้นงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จึงได้พัฒนาระบบการตรวจสุขภาพประจำปี ขึ้นมา เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก และรวดเร็ว  



  1. ชื่อเรื่อง  การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พิษณุโลก
  2. ชื่อและที่อยู่   งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พิษณุโลก
  3. คำสำคัญ การคัดกรอง  การเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย อาการทรุดลงขณะรอตรวจ
  4. สรุปผลงานโดยย่อ :  ปัญหาสำคัญของงานผู้ป่วยนอก คือผู้ป่วยที่รอรับบริการกลุ่มที่มีอาการไม่คงและอาการทรุดลงขณะรอตรวจ จากการทบทวนระบบการให้บริการพบว่า ผู้ป่วยไม่ได้รับการประเมินอาการที่ถูกต้อง ไม่มีการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ส่งตรวจตามความเร่งด่วนของอาการ งานผู้ป่วยนอก จึงพัฒนาระบบการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ ผลหลังการพัฒนาทำให้พบอาการทรุดลงขณะรอตรวจลดลง



1.ชื่อผลงาน /โครงการพัฒนา : การพัฒนาระบบการเข้าถึงการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4 – 12 ปี ตำบลนครไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19    

2.      ชื่อและที่อยู่ขององค์กร    กลุ่มงานทันตกรรม  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

3.      คำสำคัญ:    การตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์เด็กอายุ 4-12 ปี

4.      สรุปผลงานโดยย่อ: 

          ช่วงสถานการณ์โควิดที่มีการเรียนออนไลน์การออกตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์เชิงรุกตามหมู่บ้านในตำบลนครไทย สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจฟันและส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กอายุ 4-12 ปี ได้เพิ่มขึ้น


1.      ชื่อผลงาน : บันทึกได้ บันทึกดี  บันทึกนี้ คือ บันทึกทางการพยาบาล

2.      ชื่อและที่อยู่ : งานผู้ป่วยในหญิง  โรงพยาบาลพระยุพราชนครไทย

3.      คำสำคัญ : บันทึกทางการพยาบาล

4.      สรุปผลงานโดยย่อ: จากผลการตรวจสอบความสมบูรณ์เวชระเบียน  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พบว่า บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการบันทึกที่ถูกต้อง ภาระงานและจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก ตลอดจน ไม่เข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นในการบันทึกทางการพยาบาล จึงทำให้พยาบาลบันทึกได้ไม่ครบถ้วน


1.       ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบการคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด

1.      คำสำคัญ : พัฒนาการเด็ก การคัดกรองพัฒนาการ การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0 - 5 ปี

2.      สรุปผลงานโดยย่อ : ปัญหาสำคัญที่เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กคือ การตรวจประเมินพัฒนาการเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี ในช่วงอายุ 9, 18 , 30 , 42 และ 60 เดือน พบว่าติดตามได้ไม่ครบถ้วนและเกิดความล่าช้า เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดของโควิด -19 ผู้ปกครองเกิดความกังวลที่จะพาเด็กมาประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย ทำให้เด็กขาดนัดและการกระตุ้นพัฒนาการทำได้ไม่ต่อเนื่อง

งานพัฒนาการเด็กจึงได้ทบทวนวิธีการตรวจประเมินพัฒนาการ/กระตุ้นพัฒนาการ โดยการพัฒนาระบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก ไม่เพียงแต่บุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่อาสาสมัครสาธารณสุข พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึง ครู สพด. ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพ ฝึกการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และวิธีการกระตุ้นพัฒนาการเบื้องต้นทั้ง 5 ด้านเพื่อช่วยให้การตรวจประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการทั้ง 5 ด้านทำได้ครอบคลุมมากขึ้น


  1. ชื่อผลงาน: การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินขณะนอนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  2. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร: กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช      นครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  3. คำสำคัญ: ยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยา, ผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน, ความคลาดเคลื่อนจากความต่อเนื่องทางยาของยาวาร์ฟาริน
  4. สรุปผลงานโดยย่อ: ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทยทั้งหมด 151 ครั้ง (127 ราย) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด 184 ครั้ง โดยเภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้ร้อยละ 90.03 ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการไม่สั่งตรวจค่า INR ปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินกับสภาวะโรค และปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินกับยาอื่น โดยเภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาดังกล่าวได้ร้อยละ 91.38, 83.33 และ 88.24 ตามลำดับ การให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาแก่แพทย์โดยเภสัชกรได้รับการตอบรับจากแพทย์รวมทั้งหมดร้อยละ 90.03 โดยเป็นการตอบรับคำแนะนำครั้งแรกร้อยละ 74.82 และการตอบรับเพิ่มหลังการให้คำแนะนำซ้ำร้อยละ 78.95 ในด้านประสิทธิภาพการรักษา พบว่า การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ช่วยเพิ่มร้อยละค่า INR ที่อยู่ในช่วงเป้าหมายจากร้อยละ 19.56 ในวันแรกรับ เป็นร้อยละ 54.64 ในวันที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ด้านผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน พบว่า การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ช่วยลดร้อยละผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟารินจากร้อยละ 25.32 ในช่วง 3 เดือนก่อนมานอนโรงพยาบาล เป็นร้อยละ 18.67 ในวันที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และนอกจากนี้ภายหลังจากมีการพัฒนาระบบ พบว่า ร้อยละความคลาดเคลื่อนจากความต่อเนื่องทางยาของยาวาร์ฟารินที่แนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ลดลงจากเดิมร้อยละ 0.035 เป็นร้อยละ 0 ต่อพันวันนอน




1.      ชื่อผลงาน : การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินอำเภอนครไทย

2.      คำสำคัญ : ระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดย   การมีส่วนร่วมเครือข่าย

3.    ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

4.       สรุปผลงานโดยย่อ : การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินอำเภอนครไทย มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ โดยการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลศูนย์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีการขยายเครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้นให้มากขึ้น ทำให้ประชาชนที่ปัญหาการเข้าถึงระบบการบริการทางการแพทย์ สามารถรับบริการได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ



1.      ชื่อผลงาน: การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis/Septic shock โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

2.      ชื่อและที่อยู่ : ทีม PCT อายุรกรรม  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

3.      คำสำคัญ :  การติดเชื้อในกระแสเลือด, Sepsis  Septic shock

4.      สรุปผลงานโดยย่อ : ผู้ป่วย Sepsis โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย พบปัญหาผู้ป่วยเสียชีวิตสูง สาเหตุเนื่องจากการเข้าถึงของผู้ป่วย และกระบวนประเมินผู้ป่วย Sepsis ผิดพลาดล่าช้า จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Sepsis / Septic Shock ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐาน รวดเร็ว ปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิต



1.      1.       ชื่อผลงาน: โครงการพัฒนาการพัฒนาระบบการเข้ารับบริการขัดและทำความสะอาดฟันในหญิงตั้งครรภ์อำเภอนครไทย
2.       ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : กลุ่มงานทันตกรรม  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย
3.       คำสำคัญ :   บริการขัดและทำความสะอาดฟันในหญิงตั้งครรภ์
4.       สรุปผลงานโดยย่อ : จากการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการนัดเข้ารับบริการขัดและทำความสะอาดฟันหญิงตั้งครรภ์อำเภอนครไทยได้รับบริการขัดและทำความสะอาดฟันเพิ่มมากขึ้นในปีงบประมาณ 2564



Smart Hospital


รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ความคิดเห็น


สรุปข้อมูลการเงินการคลัง และแผนธุรกิจ



Link Facebook รพร. นครไทย


แอพพลิเคชั่น สำหรับผู้รับบริการ

     บันทึกข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ


          แจ้งเตือนการนัดหมาย