งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย
ได้พัฒนาคุณภาพงานคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ
และจิตเวชเด็กและวัยรุ่นขึ้น
เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึงเด็กอายุ ๕ ปี ได้รับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ
อย่างถูกต้องเหมาะสม
พบว่าเด็กแรกเกิดถึงเด็กอายุ๕ ปีที่มีพัฒนาการเสี่ยงไม่สมวัย ในปี ๒๕๕๗,๒๕๕๘,
๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๘, ๔.๖๒, ๖.๘๙ และ ๘.๑๗ ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวน
เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
และในปี ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ ได้มีกิจกรรมการคัดกรองพัฒนาการเด็ก
ตามช่วงอายุ ๙, ๑๘, ๓๐ และ ๔๒ เดือน ส่วนในช่วงอายุอื่นๆ จะเป็นการเฝ้าระวังพัฒนาการจากผู้ปกครอง
โดยใช้คู่มือ DSPM/DAIM ซึ่งเด็กแรกเกิดเด็กอายุ ๕ ปี เหล่านี้
จะได้รับการประเมินพัฒนาการจาก
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงปี ละ ๑ ครั้ง เท่านั้น
ในปี ๒๕๖๐ เด็กที่เข้ามารับบริการในคลินิกพัฒนาการเด็ก
และได้รับการประเมินพัฒนาการพบว่าเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยด้านการใช้ภาษา
(EL) มากที่สุด
จำนวน ๕๕ รายคิดเป็นร้อยละ ๒๘.๓0 รองลงมาคือด้านการเข้าใจภาษา (RL) จำนวน
๔๓ ราย
คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒0 และการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) จำนวน ๔๒ ราย
คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๖0 ส่วนด้าน การช่วยเหลือตัวเองและสังคม
(PS) ด้านการเคลื่อนไหว (GM)
รองลงมาตามลำดับ
ซึ่งเด็กบางราย อาจมีพัฒนาการไม่สมวัยในหลายด้านร่วมกัน
จากการประเมินพัฒนาการข้างต้นคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ และจิตเวชเด็กได้นำผลการประเมิน
มาวางแผนการกระตุ้นพัฒนาการ
โดยให้เด็กผู้ปกครอง และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
และมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลรักษา
ตลอดจนมีการติดตามเยี่ยมบ้านเด็ก
เพื่อดูความพร้อมในด้านต่างๆอย่างเป็นองค์รวมเนื่องจากศักยภาพของเด็กและครอบครัว
แต่ละคนจะแตกต่างกันส่งผลให้การประเมินความก้าวหน้าในการกระตุ้นพัฒนาการต้องใช้เวลา
เด็กที่แตกต่างกันตามศักยภาพของเด็กและผู้ปกครอง
ดังนั้นผู้ปกครองหรือผู้ดูแลมีความสำคัญ
ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้มีความก้าวหน้าขึ้นจากการที่มีเด็กพัฒนาการล่าช้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น
และเด็กที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการแล้วพัฒนาการไม่ดีขึ้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
แสดงว่ายังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คณะทำงานพัฒนาการเด็ก
คปสอ.นครไทย
จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน อำเภอนครไทย
ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบการดูแลเด็กแรกเกิดถึงเด็กแรกเกิดถึงเด็กอายุ ๕ ปี
ให้มีพัฒนาการที่สมวัย และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ
และการดูแลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง