กลุ่มตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2561

 Prevention & Promotion Excellence (ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ)

 กลุ่มพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย

    ตัวชี้วัดที่ 1 : ร้อยละสถานบริการสุขภาพที่มีการคลอดมาตรฐาน ร้อยละ 70 ขึ้นไป

    ตัวชี้วัดที่ 2 : อัตราส่วนการตายมารดาไทย ไม่เกิน 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน

    ตัวชี้วัดที่ 3 : ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80

    ตัวชี้วัดที่ 4 : เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54

กลุ่มพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น

    ตัวชี้วัดที่ 5 : เด็กไทยมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100 (เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามกระตุ้นพัฒนาการและดูแลต่อเนื่องด้วยเครื่องมือมาตรฐาน ร้อยละ 60)

    ตัวชี้วัดที่ 6 : เด็กวัยเรียน (6-14 ปี) สูงดีสมส่วน ร้อยละ 66

    ตัวชี้วัดที่ 7 : เด็กไทยมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) อยู่ในเกณฑ์ปกติขึ้นไป ร้อยละ 70

    ตัวชี้วัดที่ 8 : เด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปีฟันดีไม่มีผุ (cavity free) ร้อยละ 54

    ตัวชี้วัดที่ 9 : อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี (ไม่เกิน 40 ต่อจำนวนประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน) 

กลุ่มพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยทำงาน

    ตัวชี้วัดที่ 10 : วัยทำงานอายุ 30-44 ปี มีค่าดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 55

 กลุ่มพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยผู้สูงอายุ

    ตัวชี้วัดที่ 11 : ตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60

    ตัวชี้วัดที่ 12 : ร้อยละของ Healthy Ageing

กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (DHS)

    ตัวชี้วัดที่ 13. การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพ ร้อยละ 50

กลุ่มพัฒนาระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและภัยสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 14 : จังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง ร้อยละ 85

กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ

    ตัวชี้วัดที่ 15 : กลุ่มประชากรหลัก/กลุ่มเสี่ยงที่เข้าถึงบริการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เชิงรุก ร้อยละ 87

    ตัวชี้วัดที่ 16 : ร้อยละของตำบลจัดการสุขภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

กลุ่มควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 17 : อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี (ไม่เกิน 4.5 ต่อประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แสนคน)

    ตัวชี้วัดที่ 18 : อัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนน ไม่เกิน 16 ต่อประชากรแสนคน

    ตัวชี้วัดที่ 19 : อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ไม่เกินร้อยละ 2.40) และความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาความปลอดภัยด้านอาหาร

    ตัวชี้วัดที่ 20 : ผลิตภัณฑ์อาหารสดและอาหารแปรรูปมีความปลอดภัย ร้อยละ 75

กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 21 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 96

    ตัวชี้วัดที่ 22 : ร้อยละของสถานพยาบาลและสถานประกอบการเพื่อสุขภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (กลุ่ม 1 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100)

กลุ่มบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

    ตัวชี้วัดที่ 23 : โรงพยาบาลที่พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ GREEN&CLEAN Hospital ระดับดีมาก ร้อยละ 20

กลุ่มคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยง (Hot Zone)

    ตัวชี้วัดที่ 24 : จังหวัดที่มีระบบจัดการปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างบูรณาการมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐาน ร้อยละ 100

 

Service Excellence (บริการเป็นเลิศ)

กลุ่มพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ

    ตัวชี้วัดที่ 25 : คลินิกหมอครอบครัวที่เปิดดำเนินการในพื้นที่ (Primary Care Cluster) ร้อยละ 30

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

    ตัวชี้วัดที่ 26 : ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ (เบาหวาน มากกว่าหรือเท่ากับ 40%, ความดันโลหิตสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 50%)

    ตัวชี้วัดที่ 27 : ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 82.50

    ตัวชี้วัดที่ 28 : อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่เกินร้อยละ 7

กลุ่มป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

    ตัวชี้วัดที่ 29 : โรงพยาบาลที่ใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) (RDU ขั้นที่ 1 80% , RDU ขั้นที่ 2 20%)

กลุ่มพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์

    ตัวชี้วัดที่ 30 : การส่งต่อผู้ป่วยนอกเขตสุขภาพลดลง ร้อยละ 10

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาทารกแรกเกิด

    ตัวชี้วัดที่ 31 : อัตราตายทารกแรกเกิด น้อยกว่า 3.4 ต่อ 1,000 ทารกแรกเกิดมีชีพ

กลุ่มการดูแลผู้สูงอายุผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสแบบประคับประคอง

    ตัวชี้วัดที่ 32 : ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ผ่านตามขั้นตอนการประเมินผล

กลุ่มพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยฯ

    ตัวชี้วัดที่ 33 : ร้อยละผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (รพช. อย่างน้อย ร้อยละ 20 , รพ.สต. อย่างน้อย ร้อยละ 30)

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช

    ตัวชี้วัดที่ 34 : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิต ร้อยละ 55

    ตัวชี้วัดที่ 35 : อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ≤ 6.3 ต่อประชากรแสนคน

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 5 สาขาหลัก

    ตัวชี้วัดที่ 36 : อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด Community-acquired ไม่เกินร้อยละ 30

    ตัวชี้วัดที่ 37 : ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีทีม Capture the fracture (ภาวะกระดูกหักซ้ำ (Refracture) น้อยกว่าร้อยละ 30 , ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากได้รับการรักษาในโรงพยาบาล (Early surgery) มากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป)

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ

    ตัวชี้วัดที่ 38 : โรงพยาบาลตั้งแต่ระดับ F2 ขึ้นไปสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic drug) ในผู้ป่วย STEMI ได้ ร้อยละ 100

    ตัวชี้วัดที่ 39 : อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่เกิน 27 ต่อแสนประชากร

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง

    ตัวชี้วัดที่ 40 : ผู้ป่วยมะเร็ง 5 อันดับแรก ได้รับการรักษาภายในระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ 80

    ตัวชี้วัดที่ 41 : อัตราตายจากโรคมะเร็งตับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เปรียบเทียบกับ baseline ในปี 2558 (24.6 ต่อประชากรแสนคน)

    ตัวชี้วัดที่ 42 : อัตราตายจากมะเร็งปอด ลดลงร้อยละ 5 เปรียบเทียบกับ baseline ในปี 2558 (19.8 ต่อประชากรแสนคน)

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคไต

    ตัวชี้วัดที่ 43 : ร้อยละของผู้ป่วย CKD ที่มีอัตราการลดลงของ eGFR<4 ml/min/1.73m2/yr ร้อยละ 66

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาจักษุวิทยา

    ตัวชี้วัดที่ 44 : ผู้ป่วยตาบอดจากต้อกระจก (Blinding Cataract) ได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน ร้อยละ 80

กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาปลูกถ่ายอวัยวะ

    ตัวชี้วัดที่ 45 : อัตราส่วนของจำนวนผู้ยินยอมบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายต่อ จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล

กลุ่มพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

    ตัวชี้วัดที่ 46 : ผู้ป่วยยาเสพติดที่ได้รับการบำบัดรักษา และหยุดเสพต่อเนื่อง (3 month remission rate) ร้อยละ 70

กลุ่มพัฒนาระบบบริการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care)

    ตัวชี้วัดที่ 47 : สถานพยาบาลระดับ M และ F ที่ให้บริการการดูแลระยะกลาง ร้อยละ 10

กลุ่มพัฒนาระบบบริการ one day surgery

    ตัวชี้วัดที่ 48 : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ One Day Surgery ร้อยละ 15

กลุ่มพัฒนาระบบบริการ Minimally Invasive Surgery

    ตัวชี้วัดที่ 49 : ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery ร้อยละ 10

กลุ่มพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ

    ตัวชี้วัดที่ 50 : อัตราการเสียชีวิตของผู้เจ็บป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ภายใน 24 ชั่วโมง ในโรงพยาบาล ระดับ F2 ขึ้นไป (ทั้งที่ ER และ Admit) น้อยกว่าร้อยละ 12

กลุ่มโครงการเฉลิมพระเกียรติ

    ตัวชี้วัดที่ 51 : อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ร้อยละ 85

กลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ

    ตัวชี้วัดที่ 52 : การผ่านเกณฑ์ของหน่วยบริการสาธารณสุข สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 50

กลุ่มพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์

    ตัวชี้วัดที่ 53 : จำนวนเมืองสมุนไพร อย่างน้อยเขตละ 1 จังหวัด

 

People Excellence (บุคลากรเป็นเลิศ)

กลุ่มผลิตและพัฒนาวางกำลังคนด้านสุขภาพสู่ความเป็นมืออาชีพ

    ตัวชี้วัดที่ 54 : ระดับความสำเร็จของเขตสุขภาพที่มีการบริหารจัดการระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนด

    ตัวชี้วัดที่ 55 : ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนด

กลุ่ม Happy MOPH

    ตัวชี้วัดที่ 56 : ร้อยละของหน่วยงานที่มีการนำดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happinometer) ไปใช้

    ตัวชี้วัดที่ 57 : อัตราการคงอยู่ของบุคลากรสาธารณสุข (Retention rate)

    ตัวชี้วัดที่ 58 : จังหวัดที่มีบุคลากรสาธารณสุขเพียงพอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

กลุ่มพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 59 : ครอบครัวที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 55

 

Governance Excellence (บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล)

กลุ่มประเมินคุณธรรม ความโปร่งใสและการบริหารความเสี่ยง

    ตัวชี้วัดที่ 60 : ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์กำรประเมิน ITA

    ตัวชี้วัดที่ 61 : ร้อยละของการจัดซื้อร่วมของยา เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา วัสดุวิทยาศาสตร์ และวัสดุทันตกรรม

    ตัวชี้วัดที่ 62 : ร้อยละของหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุขผ่านเกณฑ์การประเมินระบบการควบคุมภายใน

กลุ่มพัฒนาองค์กรคุณภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 63 : ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสู่เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

    ตัวชี้วัดที่ 64 : ร้อยละของสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน HA ขั้นที่ 3

    ตัวชี้วัดที่ 65 : ร้อยละของ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ระดับการพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว

กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสุขภาพแห่งชาติ (NHIS)

    ตัวชี้วัดที่ 66 : ร้อยละของจังหวัดและหน่วยบริการที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพข้อมูล

กลุ่มพัฒนาสุขภาพด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)

    ตัวชี้วัดที่ 67 : ร้อยละของหน่วยบริการระดับทุติยภูมิและตติยภูมิสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพได้ (Health Information Exchange (HIE))

    ตัวชี้วัดที่ 68 : ร้อยละของประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตนเองได้ (Personal Health Record)

กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุน

    ตัวชี้วัดที่ 69 : รายจ่ายสุขภาพต่อหัวที่ปรับด้วยโครงสร้างอายุ ของ 3 ระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ (Age adjusted health expenditure per capita of each scheme)

    ตัวชี้วัดที่ 70 : กำหนดให้มีมาตรฐานการจ่ายเงินของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐให้แก่สถานพยาบาลเป็นราคาเดียวกันในทุกประเภทและระดับการบริการ

    ตัวชี้วัดที่ 71 : ร้อยละของประชากรเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินปี 2560

กลุ่มบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง

    ตัวชี้วัดที่ 72 : ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน

กลุ่มพัฒนางานวิจัย

    ตัวชี้วัดที่ 73 : ผลงานวิจัย/R2R ด้านสุขภาพที่ให้หน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 25

    ตัวชี้วัดที่ 74 : ร้อยละของงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของงบประมาณทั้งหมด

กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์

    ตัวชี้วัดที่ 75 : ร้อยละของยากลุ่มเป้าหมายที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อทดแทนยาต้นแบบเพิ่มขึ้น

    ตัวชี้วัดที่ 76 : ร้อยละรายการยาและเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

    ตัวชี้วัดที่ 77 : จำนวนตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ

    ตัวชี้วัดที่ 78 : จำนวนนวัตกรรมที่คิดค้นใหม่ เทคโนโลยีสุขภาพ หรือพัฒนาต่อยอดการให้บริการด้านสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 79 : จำนวนงานวิจัยสมุนไพร/งานวิจัยการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกที่นำมาใช้จริงทางการแพทย์หรือการตลาด

กลุ่มการปรับโครงสร้างและพัฒนากฎหมายด้านสุขภาพ

    ตัวชี้วัดที่ 80 : ร้อยละของกฎหมายที่ควรปรับปรุงได้รับการแก้ไขและมีการบังคับใช้